นักบุญแห่งขุนเขา
ได้รับการขนานนามว่า “นักบุญแห่งขุนเขา”
หลายคนมักจะคุ้นตากับภาพที่ครูบาขี่ม้าบิณฑบาต จนหลายคนเรียกติดปากว่า “ครูบาขี่ม้า” ครั้งแรกเลยไม่เคยมีความคิดจะใช้ม้าในการออกรับบิณฑบาตหรอก แต่มีชาวบ้านมาบนขอให้หายป่วย พอหายป่วยก็เลยเอาม้ามาแก้บน ชาวบ้านเอาม้ามาแก้บน เลยต้องเลี้ยงไว้เพราะเขาเอามาถวาย เราเป็นพระไม่รับก็ไม่ได้
เหตุที่ต้องขี่ม้าบิณฑบาตรนั้นก็เพราะแต่ละหมู่บ้านอยู่ห่างไกลกันมาก ต้องเดินทางข้ามเขาเป็นลูกๆ การเดินด้วยเท้าจะลำบาก ยิ่งหน้าฝนทางเดินลื่นมาก การใช้ม้าช่วยให้การออกรับบาตรสะดวกมากยิ่งขึ้น และยังช่วยให้ครูบามีโอกาสได้ไปเผยแผ่หลักธรรมตามหมู่บ้านชาวเขาในแนวชายแดนที่ห่างไกลอีกด้วย ส่วนในเรื่องของความเหมาะสมหรือไม่ที่พระขี่ม้า ครูบาเห็นว่าน่าจะดูที่การปฏิบัติกิจของสงฆ์มากกว่า
ครูบาใช้ม้าเพื่อเผยแผ่ศาสนาในโครงการ “มิตรมวลชน คนชายแดน” ที่สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงรับเป็นองค์สังฆราชูปถัมป์โครงการนี้ด้วย มีเนื้อที่ในการดูแลรักษาผืนป่าอย่างเป็นทางการ จำนวน 880 ไร่ และอีกจำนวน 400 ไร่ เป็นผืนป่าเสื่อมโทรมที่เป็นต้น้ำลำธาร (ที่รอการรับรองจากกรมป่าไม้)
โดยปัจจุบันได้จัดตั้งโครงการอนุรักษ์ม้าไทย โดยมีม้าในความดูแลทั้งสิ้น 200 กว่าตัว นอกจากนี้ยังมีโค – กระบือ อีก 10 ตัว มีคนงานชาวเขาทั้งเด็กและผู้ใหญ่ถึง 60 คน ซึ่งม้าดังกล่าวนั้นครูบาอนุญาตให้ชาวเขา ข้าราชการครู ตำรวจ และทหารในพื้นที่หยิบยืมไปใช้ได้ การใช้ม้าจึงมีความสะดวกในการเดินทางเกือบ 17 ปี ของการออกธุดงค์ เผยแผ่หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าตามชายแดนไทย – พม่า โดยไม่แบ่งชาติพันธุ์
ในที่สุดก็ได้รับขนานนามว่า “นักบุญแห่งขุนเขา” จากเจ้าหน้าที่ที่ร่วมงานกันในโครงการ “มิตรมวลชน คนชายแดน” ส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ทหารจากกองกำลังเฉพาะกิจกรมการทหารราบที่ 17 กองพันที่ 3 (ฉก.ร.17 พัน 2) ตั้งให้ เพราะเห็นว่าครูบาเป็นพระที่ใช้ชีวิตอยู่ในป่า เผยแผ่ธรรมะอยู่ในป่า